สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย ขอเชิญเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการ
เรื่อง “การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การใช้งานระบบ e-GP”
ระหว่างวันอังคารที่ 18 ถึงวันพุธที่ 19 มิถุนายน 2567
ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้อง 406 ชั้น 4 สํานักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
ค่าลงทะเบียน 3,200 บาท ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ – 13 มิถุนายน 2567
หลักการและเหตุผล
ด้วยพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 57 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 9 ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement : e-GP) ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด ซึ่งในปัจจุบันกรมบัญชีกลางได้พัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP ) อยู่ในระยะที่ 5 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ e-GP ให้รองรับปริมาณการใช้งานที่มากขึ้น รองรับเทคโนโลยี cloud และการทำงานแบบ Micro Service ให้ระบบ e-GP มีความคล่องตัว ปลอดภัย รองรับขั้นตอนการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯ กฎกระทรวง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างฯ รวมทั้งกรมบัญชีกลาง ได้ออกแนวทางการปฏิบัติใหม่ ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement : e-GP) การปรับปรุงระบบและวิธีปฏิบัติในครั้งนี้ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเมนูการใช้งานและการทำงานใหม่หลายๆอย่าง โดยมีรายละเอียดและขั้นตอนการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่ค่อนข้างเข้าใจยาก อาทิเช่น การกำหนดเงื่อนไขในร่างขอบเขตของงาน TOR /การกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุและการจัดเอกสารประกวดราคา และเทคนิคการพิจารณาผลตามหนังสือแนวทางปฏิบัติในการเร่งรัดการปฏิบัติงานตามสัญญาและการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ยื่นข้อเสนอและหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง และเทคนิคการตรวจสอบเอกสารประกาศเชิญชวน การบันทึกข้อมูลในระบบ e-GP โครงการที่เลือกประเภทการจ่ายเงินแบบตามความก้าวหน้าของงาน ในกรณีที่สร้างโครงการระยะเวลา 1 ปี มีการจ่ายค่างานอย่างไร การคำนวณค่าปรับในงานจ้าง เป็นต้นอีกทั้งแนวทางในการปฏิบัติ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีการออกหนังสือเวียนแจ้ง แนวทางวิธีปฏิบัติใหม่ๆในเรื่องต่างๆอย่างต่อเนื่อง ทําให้ผู้ปฏิบัติงานมีเรื่องที่ต้องปรับตัวทํา ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ต้องอาศัยทักษะ ประสบการณ์และความชํานาญในการปฏิบัติงานเป็น อย่างมาก แต่หลายๆคนก็ยังไม่มีความคุ้นเคยกับการปฏิบัติงานในระบบ e-GP จึงทําให้ผู้ที่ ปฏิบัติงานกับระบบ e-GP ดังกล่าวประสบปัญหาในการใช้งานระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วย อิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ตลอดเวลาและอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างให้ผู้ปฏิบัติงานกับระบบ e-GP มีความรู้ความเข้าใจการใช้ งานและมีทักษะเพิ่มมากขึ้นจากการได้ฝึกปฏิบัติงานจริงกับระบบ e-GP ระยะที่ 5 ได้ฝึกวิธี ปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ที่มีการปรับเปลี่ยนใหม่ โดยมี วิทยากรผู้พัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP ) ในระยะที่ 5 นี้ มา ให้ความรู้และสอนวิธีใช้งานจนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง มีความคุ้นเคย คล่องตัว ปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับระเบียบ กฎกระทรวงและหนังสือเวียนแจ้งซ้อมความเข้าใจต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย จึงจัดสัมมนาเสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจ แก้ไขปัญหาการใช้งานระบบ e-GP ที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ในหัวข้อ เรื่อง “การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การใช้งานระบบ e-GP รุ่น 2” ระหว่างอังคารที่ 18 ถึงวันพุธที่ 19 มิถุนายน 2567 ณ ห้ อ ง ป ฏิ บั ติ ก า ร ค อ ม พิ ว เ ต อ ร์ ห้ อ ง ๔๐๖ ชั้ น ๔ สํ า นั ก บ ริ ก า ร ค อ ม พิ ว เ ต อ ร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและเพิ่มพูนทักษะการ ปฏิบัติงานจริงด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์กับระบบ e-GP ระยะที่ 5 ของผู้ปฏิบัติงานที่เข้าร่วม สัมมนา ให้มีความรู้ความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และแนวทางวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในการ จัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบ e-GP ระยะที่ 5 นี้และการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นขณะใช้งาน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนามีความรู้ความเข้าใจกระบวนการและขั้นตอนการจัดซื้อจัด จ้างที่ถูกต้องแต่ละวิธีที่กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างกําหนด ในการใช้งาน กับระบบ e-GP ระยะที่ 5
2. เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาได้รับความรู้ โดยการฝึกปฏิบัติบันทึกข้อมูลการจัดซื้อจัด จ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ระยะที่ 5 ได้ฝึกปฏิบัติงานจริงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 คน/1 เครื่อง ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โดยมีวิทยากรสอนการใช้งานระบบ e-GP ใหม่นี้ ใน เครื่องคอมพิวเตอร์จริงที่มีพี่เลี้ยงคอยดูแลให้ความช่วยเหลือ ให้คําแนะนําในระหว่างฝึกอบรม พร้อมให้สอบถามประเด็น ปัญหาและข้อสงสัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน ได้รับการตอบชี้แจงคลี่คลายข้อสงสัย มี ความรู้ความเข้าใจและมีทักษะเพิ่มมากขึ้น สามารถกลับไปปฏิบัติงานจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบ e-GP ระยะ ที่ 5 ได้ด้วยความเข้าใจและมั่นใจมากขึ้น และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้น
3. เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาได้มีโอกาสรับฟังกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่เคยเกิดเป็นปัญหาขึ้น
มาแล้วและสาเหตุที่ทําให้เกิดเป็นปัญหาขึ้นมา พร้อมแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
4. เพื่อลดความผิดพลาดในการจัดซื้อจัดจ้างที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ได้รับฟัง ความคิดเห็น และได้ทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการ ปฏิบัติงาน
เอกสาร ที่เกี่ยวข้องของโครงการสัมมนาทางวิชาการ
ลงทะเบียนเข้าร่วมการสัมมนา